Guardian Glass เผยฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อม (EPD) สำหรับผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
ไทย | March 26, 2025กรุงเทพฯ 26 มีนาคม 2568 – การ์เดียน กลาส หรือ Guardian Glass เผยฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ หรือ Environmental Product Declarations (EPDs) สำหรับผลิตภัณฑ์กระจกแผ่นเรียบ โดยครอบคลุมกลุ่มผลิตภัณฑ์กระจกโฟลตใส กระจกโฟลตสีตัดแสง กระจกลามิเนต และกระจกเคลือบผิวแบบเปียก (กระจกเงา) ทั้งที่ผลิตในประเทศไทยและที่ผลิตในต่างประเทศ
โดยฉลาก EPDs ใหม่นี้ ผ่านการตรวจสอบและรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานภายนอก UL ซึ่งครอบคลุมผลิตภัณฑ์ดังต่อไปนี้
ฉลาก EPDs สำหรับกระจกโฟลตที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมและการออกแบบภายในเป็นไปตามแนวทางในการประเมินผลิตภัณฑ์ “Cradle-to-Gate (A1-A3)” ซึ่งดำเนินการตามมาตรฐาน ISO 21930 และกฎรายการวัสดุสำหรับผลิตภัณฑ์ในแถบอเมริกาเหนือ (North American PCRs) โดยมีค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้าง(Embodied Carbon)อยู่ที่ 9.97 กิโลกรัม CO₂e/ตร.ม. สำหรับกระจกหนา 4 มม.*
สำหรับฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ของกระจกรถยนต์เป็นไปตามแนวทางในการประเมินผลิตภัณฑ์ “Cradle-to-Gate with Options (A1-A4, C1-C4)” ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่ การขนส่งไปยังลูกค้า (A4) จากประเทศไทยไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รวมถึงกระบวนการรื้อถอนและกำจัดผลิตภัณฑ์หลังสิ้นสุดอายุการใช้งาน (C1-C4) โดยพัฒนาให้สอดคล้องกับมาตรฐานผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมยานยนต์และการขนส่งสากล (Automotive & Transport UN PCRs) ที่กำหนดค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างรวมของกระจกยานยนต์หนา 4 มม. อยู่ที่ 12.3 กิโลกรัม CO₂e/ตร.ม. ซึ่งแบ่งเป็นค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างจากกระบวนการ A1-A3 ที่ 10.02 กิโลกรัม CO₂e/ตร.ม. และผลกระทบจากการขนส่ง (A4) ไปยังออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เท่ากับ 2.16 กิโลกรัม CO₂e/ตร.ม.
นอกจากนี้ Guardian Glass ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ในเครื่องมือ Performance Calculator ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถคำนวณค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้าง(Embodied Carbon) สำหรับการเลือกใช้กระจกในรูปแบบต่าง ๆ โดยเครื่องมือนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Glass Analytics ที่จะช่วยจำลองคุณสมบัติทางความร้อน การส่องแสงของพื้นผิวกระจก รวมถึงชั้นเคลือบผิวกระจก สำหรับฟีเจอร์ใหม่ของ Performance Calculator สามารถประมาณการค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างของกระจกในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างแม่นยำ ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ กระจกโฟลต (Float Glass) กระจกเคลือบ Sputter-Coated Glass และกระจกลามิเนต (Laminated Glass) ที่ผลิตโดย Guardian Glass ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และอินเดีย
Sascha Klengel หัวหน้าฝ่ายขายของ Guardian Glass ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “เรารู้สึกยินดีที่ได้ยกระดับฉลากข้อมูลสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ฉบับใหม่ ที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นต่อเป้าหมายด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้กรอบแนวทางความยั่งยืนของบริษัทฯ ผ่านการให้ข้อมูลอย่างเปิดเผยเกี่ยวกับค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างของผลิตภัณฑ์กระจกของเรา ที่จะช่วยเพิ่มความเข้าใจและช่วยให้พาร์ทเนอร์ของเราเข้าถึงข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม เพิ่มการตัดสินใจเลือกใช้กระจกได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลกระทบเชิงบวก (Positive Impact) ต่อสมรรถนะของรถยนต์ การออกแบบเปลือกอาคาร (Facade) และการออกแบบภายใน โดย EPDs ฉบับใหม่ของเราจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมการก่อสร้างและยานยนต์อย่างยิ่ง”
สำหรับผู้สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ EPDs สามารถค้นหาได้ที่ guardianglass.com/product-declarations และผู้สนใจเครื่องมือจำลองคุณสมบัติของกระจก Glass Analytics และทดลองใช้ฟีเจอร์ Performance Calculator คำนวณค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้างผ่านฟีเจอร์ผ่าน Resource Hub บนเว็บไซต์ของ Guardian Glass ได้ที่ guardianglass.com/resource-hub
* ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential - GWP) ในระยะ A1-A3 รวมถึงผลกระทบจากการสกัดและแปรรูปวัตถุดิบที่ใช้ในกระบวนการผลิต การขนส่งวัตถุดิบไปยังสถานที่ผลิต และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ คำนี้มักถูกเรียกว่า “คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์” (Product Carbon Footprint) หรือ “คาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้าง” (Embodied Carbon)
** ข้อมูลค่าคาร์บอนที่มาจากวัสดุก่อสร้าง(Embodied Carbon) คือค่าคาร์บอนเทียบเท่า (CO₂ eq.) ในหน่วยกิโลกรัมต่อเมตริกตัน หรือ ต่อตารางเมตรของกระจกที่ถูกปล่อยออกมาระหว่างกระบวนการผลิตกระจก (ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงประตูโรงงาน - Cradle-to-Gate, A1-A3) การคำนวณนี้เป็นการประมาณการโดยอ้างอิงจาก Embodied Carbon Factor (ECF) ซึ่งได้มาจากค่าสเกลและผลลัพธ์ในเอกสารประกาศด้านสิ่งแวดล้อมระดับภูมิภาค (Regional Environmental Product Declarations - EPDs) ซึ่งเป็นเอกสารที่ผ่านการตรวจสอบโดยหน่วยงานภายนอกอิสระ เพื่อให้ข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์โปร่งใสตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์